วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่9

การส่งเสริมและยกระดับของวิชาระดับวิชาชีพครู

การส่งเสริมและพัฒนาครู


  •  จัดระบบการเรียนการสอน และระบบกระบวนการผลิตและพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษา คุณภาพ และมาตราฐานให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา

  • จัดให้มีการควบคุมรักษามาตราฐานการประกอบวิชาชีพครูและปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาครูบริหารศึกษา

  • ยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานของบุคคลสู่เขตพื้นที่ การศึกษา และสถานศึกษา

  • จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน สวัสดิการ คาตอบแทน และสิทธิเกิ้อกูลอืื่นสำหรับวิชาชีพครูและบุคคลากรทางการศึกษา

  • จัดให้มีกองทุนส่งเสริมครู  และบุคคลากรทางการศึกษาเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนงานริเริ่มสร้างสรรค์  ผลงานดีเด่น และรางวัลเชิดชูเกียรติต่อครู

อ้างอิงจาก  https://www.gotoknow.org/posts/206824

แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู 

... การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพตนเองของครู เช่น  การฝึกอบรมการปฏิบัติงาน  การประชุมทางวิชาการ  การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน  การช่วยเหลือเพื่อนครูในการทำงาน  การเสนอรายงานพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมอื่นๆซึ่งเป็นการฝึกฝนที่ครูเลือกปฏิบัติด้วยตนเองตามศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยและโอกาสของตน

...  การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยสถานศึกษา   เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคคลอย่างเป็นกระบวนการและเป็นระบบ   มีกิจกรรมต่างๆ  เช่น  การส่งเสริมให้ไปศึกษาอบรม  ดูงานสาขาวิชาที่ปฏิบัติงานอยู่  สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น  ให้ทุนการวิจัยให้ไปเป็นวิทยากรในหน่วยงานอื่น  การแลกเปลี่ยนบุคลากร 





...การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพของครูโดยหน่วยงานกลาง  อาจเป็นหน่วยงานต้นสังกัดการบริหารบุคคล  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือหน่วยงานอื่น  ของกระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงมหาดไทย  เป็นต้น  ที่มีการพัฒนาทุกด้านอย่างต่อเนื่อง  และการพัฒนาโดยองค์กรวิชาชีพคือ คุรุสภา  เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งวิชาชีพครูและการถือครองใบอนุญาตการ ประกอบวิชาชีพครูอีกด้วย  นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาโดยองค์กร   ชมรม  สมาคมหรือกลุ่มวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรวมตัวกันเพื่อดำเนินการเรื่องใด เรื่องหนึ่ง

อ้างอิงจาก  https://sites.google.com/site/orathaieducation/home/kar-sng-serim-sakyphaph-laea-smrrthphaph-khwam-pen-khru


เกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพครู 


... แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐาน

วิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ

มาตรฐานวิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพ ครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ

วิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
 

1. มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน



อ้างอิงจาก  http://www.vcharkarn.com/vcafe/195075